วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อุปกรณ์ต่อพ่วง (ต่อ)

                                                                     Flash Drive




Flash Drive (หรือที่หลายคนเรียก Handy Drive, Thumb Drive, USB Drive) 
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว แต่ในขณะเดียวกันมีความจุสูง สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากตั้งแต่ 2 GB ถึง 16 GB และขนาดความจุข้อมูลก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

             ประเภทของ
Flash Drive / Thumb Drive / Handy Drive
           การเลือกซื้อ Flash Drive
1.พอร์ตการเชื่อมต่อปก ติเป็นพอร์ต USB 1.1 และ USB 2.0 ให้เลือก USB 2.0 เพราะจะมีความเร็วต่างกันมาก แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเครื่องคอมฯ ของคุณมีพอร์ต USB เวอร์ชั่น 1.1 ก็สามารถใช้งานร่วมกันได้เช่นกัน2.ความจุ
เดิมความจุเริ่มต้นด้วย?8, 16, 32, 64, 128 และ 256 MB??แต่ปัจจุบัน เริ่มต้นกันที่ 1,024 MB หรือ 1, 2, 4, 8, 16?GB แล้วครับ?
3.ความสามารถอื่นๆ
ถ้า ต้องการมากกว่าบันทึกข้อมูลแล้ว การพิจารณา Flash Drive ในอยู่ในรูปของ 4 in 1 ซึ่งมีความสามารถพิเศษอื่นๆ เพิ่มคือ ฟังวิทยุ เล่นไฟล์ MP3, บันทึกเสียง และท้ายสุดบันทึกข้อมูลได้ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่ราคาเมื่อเทียบกับความจุแล้ว จะต่างกันมาก
4.ขนาด
ไม่ มีผลกับความจุ แต่อย่างไรก็ตาม ขนาดโดยทั่วไปจะทำกับปากกา บางยี่ห้อมีการทำ Mini Flash Drive ซึ่งมีขนาดเล็กลงไปอีก ซึ่งสามารถใช้ห้อยคอได้ด้วย
5.ความเข้ากัน
Flash Drive จะใช้งานได้ดีกับ Windows ME, 2000 และ XP โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Driver แต่สำหรับ Windows 98 จำเป็นต้องมีการลง Driver ก่อนการใช้งาน


                                                                          Printer



                 แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
      1. เครื่องพิมพ์แบบกระทบ (Impact Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ก่อให้เกิดตัวอักษรหรืออักขระบนกระดาษโดยการกดหัวพิมพ์กับแถบผ้าหมึก ก่อให้เกิดเสียงดังขณะพิมพ์ เครื่องพิมพ์แบบกระทบยังแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
- เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot Matrix Printer) มีหัวพิมพ์เป็นเข็มเล็กๆเรียงเป็นแถวตามแนวตั้ง ซึ่งถ้าเป็นเครื่องชนิดหยาบจะมีเข็มพิมพ์จำนวน 9 เข็ม และเครื่องพิมพ์แบบละเอียดจะมีเข็มพิมพ์ 24 เข็ม การพิมพ์จะทำได้โดยกดหัวเข็มผ่านผ้าหมึกปรากฏเป็นจุดเล็กๆบนกระดาษแต่จะพิมพ์ได้ช้าและมีเสียงดังขณะพิมพ์
- เครื่องพิมพ์รายบรรทัด (Line Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูง พิมพ์ได้ครั้งละ 1 บรรทัด มีความเร็วประมาณ 3,000 บรรทัด/นาที แต่ราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์แบบจุด และมักใช้กับมินิคอมพิวเตอร์
- เครื่องพิมพ์แบบเดซีวิล (Daisy-wheel Printer) ใช้ตัวอักษรที่จัดเรียงบนก้านพิมพ์ซึ่งในขณะที่ทำงานตัวอักษรจะหมุนไปตรงจุดที่มีค้อนเคาะ (Hammer)ทำให้ตัวอักษรพิมพ์ลงบนผ้าหมึกและไปติดบนกระดาษ เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีลักษณะตัวอักษรที่สวย แต่จะพิมพ์ค่อนข้างช้า และไม่สามารถพิมพ์กราฟฟิกได้
        2. เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ (Non-impact Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ไม่ได้ใช้การกดหัวพิมพ์ลงบนแถบผ้าหมึกจึงไม่มีเสียงดังรบกวน แต่อาศัยการสร้างตัวอักษรด้วยวิธีด้วยวิธีการอื่น ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
- เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (Inkjet Printer) ทำงานโดยหลักการพ่นหมึกลงในตำแหน่งที่ต้องการทำให้เกิดรูปภาพหรือตัวอักษรขึ้นซึ่งไม่ก่อให้เกิดเสียงดังในขณะใช้งานและสามารถพ่นหมึกเป็นสีต่างๆได้
- เครื่องพิมพ์แบบใช้ความร้อน (Thermal Printer) มีขนาดเล็ก ใช้เทคนิคคล้ายกับเครื่องพิมพ์แบบจุด แต่แทนที่จะกดหัวพิมพ์ลงบนแถบผ้าหมึก จะใช้ความร้อนแทนและต้องพิมพ์ลงบนกระดาษที่ผลิตขึ้นเป็นพิเศษ
- เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) มีราคาค่อนข้างแพงแต่ให้คุณภาพงานที่ดีและทำงานได้เร็ว มีหลักการทำงานโดยการยิงแสงเลเซอร์ ไปสร้างอักษรหรือภาพบนกระดาษ ส่งผลให้กระดาษร้อนแล้งปล่อยผงหมึกไปยังอักษรหรือภาพที่สร้างไว้


การเลือกซื้อ
1. เทคโนโลยี
คงไม่พ้นเรื่องความละเอียดในการพิมพ์ เช่น 1440 จุดต่อนิ้ว ปัจจุบันถือว่า จำนวน DPI สูง ๆ ไม่ถือว่าจะมีคุณภาพการพิมพ์สูง แต่ต้องดูในเรื่องของคุณภาพงานพิมพ์มากกว่า เพราะยิ่ง DPI สูง เวลาพิมพ์จะเปลืองหมึกมากและพิมพ์ช้าลงด้วย
2. หัวพ่นหมึก 
Printer ที่มีหัวพ่นอยู่ที่ตลับหมึก ราคาจะสูงกว่า แต่ทุกครั้งที่หมึกหมด จุะต้องเปลี่ยนทั้งตลับทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาเครื่องหมึกอุดตัน
3. ตลับหมึก
บางรุ่น จะแยกออกจากหัวพ่นหมึก แต่ถ้าจะให้ดีควรสามารถแยกตลับสีแต่ละสีจากกันได้ เวลาสีบางสีหมด จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนทั้งหมด
4. หน่วยความจำ 
Printer ที่มีหน่วยความจำมาก ย่อมทำให้การพิมพ์เร็วขึ้น (หน่วยความจำบนคอมฯ กับ Printer จะไม่เหมือนกัน)
5. ความเร็วในการพิมพ์ต่อนาที 
ขึ้นกับงานที่ต้องการ เช่น สี 4 แผ่น ขาวดำ 8 แผ่นเป็นต้น (โดยปกติการพิมพ์สีจะช้ากว่าการพิมพ์ขาวดำ)
6. การเชื่อมต่อ
เดิมการต่อ Printer กับคอมฯ ก็ไม่พ้น LPT part แต่ปัจจุบัน USB port ก็เป็นทางเรื่องใหม่ที่น่าสนใจไม่น้อย เนื่องจากเป็น port ที่พิมพ์ด้วยความเร็วสูง
7. ระบบป้อนกระดาษ 
ระบบป้อนกระดาษด้านหน้าจะดีกว่าป้อนกระดาษด้านบน เพราะโอกาสติดจะน้อยกว่า

                                                                       Scanner
               


              ประเภทของสแกนเนอร์ 
1.สแกนเนอร์แท่นเรียบ - Flatbed Scanner
สแกนได้ครั้งละ 1 แผ่น เพียงวางกระดาษที่ต้องการสแกน คว่ำหน้าลง และเรียกโปรแกรมสำหรับสแกนขึ้นมา และเลือกคำสั่งสแกน (สแกนเนอร์แบบนี้จะให้คุณภาพการแสดงที่ดีมาก และใช้งานง่าย)
2.สแกนเนอร์ดึงกระดาษ - Sheet-Fed Scanner
สแกนได้ครั้ง 1 แผ่นเช่นเดียวกัน เวลาสแกนเครื่องจะดึงกระดาษเข้าไป คล้ายเครื่องพิมพ์ ไม่เหมาะสำหรับการสแกนหนังสือ เพราะต้องฉึกกระดาษออกมา ส่วนเรื่องราคานั้นไม่ค่อยแพงนัก คุณภาพที่ได้ยังไม่ค่อยดี 
3.สแกนเนอร์มือถือ - Handhelded Scanner
สแกนเนอร์ที่ต้องการใช้มือลากไปยังภาพที่เราต้องการสแกน (สแกนค่อนข้างยาก) คุณภาพที่ได้ก็ไม่ค่อยดีนัก และยังต้องพึ่งความชำนาญในการลากเครื่องสแกน
             การเลือกซื้อ
1. DPI (Dot Per Inch)
dot per inch จำนวนจุดต่อนิ้ว หมายความว่า จะ Scanner สามารถ Scan ในความละเอียดสูง ได้ และในเวลาอันสั้น หมายความว่า มีคุณภาพค่อนข้างดี แต่อย่างไรก็ตาม ยิ่ง Scan ด้วยความละเอียดสูง จะทำให้ file ที่ได้มีขนาดใหญ่และช้ามากด้วย
                    
2.การเชื่อมต่อ 

เดิมการเชื่อมต่อจะใช้ SCSI card (ส่วนใหญ่ต้องซื้อเพิ่ม) เข้ามาเสริม เพื่อเพิ่มความเร็ว ปัจจุบันมักจะใช้ LPT หรือ USB มาเชื่อมต่อ แต่ก็ให้ความเร็วค่อนข้างดี
3. โปรแกรม 
ควรมีโปรแกรมที่แถมมากับเครื่องเพื่อแก้ไขภาพ หรือถ้าต้องการ Scan ตัวอักษรแล้วต้องการแก้ไข ควรมีโปรแกรมประเภท OCR (OCR - Optical Character Recognition คือโปรแกรมที่สามารถเปลี่ยนข้อความที่เราสแกนเข้าไป เปลี่ยนเป็นข้อความที่สามารถแก้ไขได้โดยตรงด้วยโปรแกรมประเภท word)
 
4. ความสามารถพิเศษ
สามารถ Scan ฟิล์มสไลต์, ฟิล์มเนกะทีฟ, Scan 3D หรือ3 มิติ ได้หรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น