วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

การบำรุงรักษา เครื่องคอมพิวเตอร์

มาว่ากันด้วยวิธีการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ง่ายๆ 10 วิธีดังนี้

วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ เช็ดทำความสะอาด

วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ เช็ดทำความสะอาด
       1.ทำความสะอาดคอมพิวเตอร์บ้าง : วิธีการทำความสะอาดคอมพิวเตอร์นั้นไม่ยากอย่างที่เราคิดครับ แต่ก็ต้องทำให้ถูกหลักด้วยนะครับ เริ่มจากการถอดปลั๊กไฟก่อน และทำความสะอาดโดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเปล่า หรือน้ำยาทำความสะอาดคอมพิวเตอร์ เช็ดส่วนต่างๆที่เป็นตัวเครื่องหรือกรอบหน้าจอ เมาส์ คีย์บอร์ด รวมถึงสายไฟคอมพิวเตอร์       2.เป่าฝุ่นหรือกำจัดฝุ่นที่อยู่บนตัวเครื่อง : สำหรับวิธีนี้แนะนำให้ใช้แปลงทาสีที่มีขนอ่อนๆ อาจจะเป็นแปรงด้ามไม้ไผ่หาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างครับ เพราะหน้าจอหรือตัวเครื่องบางรุ่น หากใช้แปรงที่มีขนหนาอาจทำให้เป็นรอยได้ อย่าลืมใส่ผ้าปิดจมูกก่อนทำความสะอาดนะครับถ้าใครมีเครื่องเป่าฝุ่นหรือเป่าลม สามารถเป่าเครื่องได้นะครับเพื่อไล่ฝุ่นออกจากคอมพิวเตอร์       3.ตรวจเช็คความเรียบร้อยภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ : วิธีนี้อาจยุ่งยากหน่อยสำหรับผู้ที่ไม่ถนัดในด้านการช่างครับ เพราะต้องทำการเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะต้องไขน็อตที่ล็อกฝาข้างอยู่ ควรตรวจเช็คพัดลมระบายความร้อนและสายไฟที่อยู่ภายในครับว่ายังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีอยู่หรือเปล่าเพราะความร้อนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์เสียได้เพราะอุปกรณ์สึกหรอ


วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ พัดลมระบายความร้อน


วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ พัดลมระบายความร้อน

        4.จัดวางคอมพิวเตอร์ให้ถูกหลัก : สำหรับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ การจัดวางหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรวางให้ห่างจากกำแพง หรือมีช่องว่างด้านหลังจอประมาณ 1 ไม้บรรทัด ครับเพราะความร้อนที่กระจายออกมาจะได้มีการระบายที่โล่งและไม่เกิดอุณหภูมิสูง รวมถึงตัวเคสคอมพิวเตอร์ก็ควรตั้งในที่มีช่องระบายความร้อนให้ลมสามารถพัดเข้า-ออกได้  ผู้ที่ใช้โน้ตบุ้คก็เช่นเดียวกันครับ ควรยกระดับด้านล่างของโน้ตบุ้คให้มีช่องว่างระบายอากาศด้านล่างด้วย เนื่องจากโน้ตบุ้คจะมีความร้อนที่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป แนะนำให้หาพัดลมตัวเล็กๆ หรือพัดลมตั้งพื้นเป่าจะแน่นอนสุดครับ เย็นทั้งคนและเครื่อง       5.เข้าศูนย์หรือร้านซ่อมคอมใกล้บ้าน : วิธีนี้สำหรับคนที่ไม่สะดวกในการจัดการคอมพิวเตอร์ก็ต้องฝากให้เป็นงานของช่างคอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบกันว่าอุปกรณ์ต่างๆยังอยู่ในสภาพดีไหม ก่อนตรวจเช็คสอบถามราคาในการดำเนินการก่อนนะครับ ^^
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์
       6.จัดการไฟล์ที่ไม่ได้ใช้แล้วหรือไม่สำคัญ : ไฟล์ต่างๆที่เราดาวน์โหลดมาหรือเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หากไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือไม่สำคัญก็ควรลบทิ้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ เพราะจะทำให้ไม่หนักเครื่องในส่วนของหน่วยความจำ จะได้พร้อมและมีทีว่างรับข้อมูลใหม่       7.จัดระเบียบโฟลเดอร์ต่างๆ : ในส่วนนี้จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและช่วยในเรื่องการทำงานของเราได้เลยครับเพราะหากเราจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เวลาที่หาไฟล์ต่างๆก็จะสะดวกมากขึ้น เครื่องก็จะทำงานไม่หนักครับ        8.กำจัดและสแกนไวรัสในคอมพิวเตอร์ : วิธีนี้อาจต้องใช้เวลาหน่อยครับเพราะแน่นอนว่าสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์มานานข้อมูลต่างๆรูปภาพไฟล์เพลง งานต่างๆมากมายที่อยู่ในเครื่องมาจากหลากหลายที่ ทำให้มีไวรัสแฝงตัวอยู่ในโฟลเดอร์ต่างทั้งที่เราไม่รู้บ้าง ยิ่งข้อมูลมากยิ่งใช้เวลาสแกนนานมากขึ้น ลองหาโปรแกรมสแกนไวรัสสักตัวอย่างเช่น nod32 เพื่อให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่มีปัญหาครับ
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ เช็คไวรัสคอมพิวเตอร์
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ เช็คไวรัสคอมพิวเตอร์
           9.ลบโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งานทิ้ง : หากเรารู้ว่าโปรแกรมไหนที่เราไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือเกมส์ต่างๆที่เราลงไว้ในคอมพิวเตอร์ไม่ได้เล่นเราควรจะลบออกครับเช่นเดียวกับโฟลเดอร์และไฟล์ เพราะจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไม่ทำงานหนักที่ต้องเตรียมโปรแกรมต่างๆคอยเสิร์ฟเวลาที่เราจะใช้งาน          10.หมั่นหาวิธีหรือการใช้งานที่ถูกต้อง : จริงๆแล้ววิธีนี้ก็คือการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องตามพื้นฐานครับ เพราะถ้าเราไม่รู้หลักในการใช้งานแล้ว ตั้งแต่ข้อ 9 จนถึง 1 ที่กล่าวมาก็อาจทำให้เราละเลยในการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์จากการใช้งานที่ไม่ถูกต้องได้ ไม่ยากครับเพียงแค่เราคอยเอาใจใส่ทั้งตัวเราและคอมพิวเตอร์ ต้องเริ่มจากตัวเราก่อนครับเพราะถ้าเราไม่ดูแลสุขภาพตัวเราก่อน เวลาที่เราจะดูแลคอมพิวเตอร์ก็จะมีน้อยลงครับ 

1.สิ่งที่เป็นอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ 
          สิ่งที่ถือว่าเป็นอันตรายสามารถทำร้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เสียหายก่อนถึงเวลาอันควรนั้น  ได้แก่                   1. ความร้อน  ได้แก่  ความร้อนที่เกิดขึ้นภายในเครื่องคอมพพิวเตอร์เองและภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์  เนื่องจาก  คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าในการทำงาน  เป็นสาเหตุให้มีกระแสไฟฟ้าที่เป็นพลังงานให้กับอุปกรณ์ภายในบางส่วนสูญเสีออกมาในรูปของความร้อน ซึ่งความร้อนนี้เองเป็นสาเหตุของความเสียหายกัยอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
           

           2. ฝุ่นผง  อาจทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง  เพราะฝุ่นสามารถเกาะพื้นผิวชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  เช่น  แผงวงจรภายใน  เมื่อนานๆ  ไปจะเคลือบหนาขึ้นและยึดติดแน่นจนทำให้เป็นฉนวนกั้นความร้อนทำให้แผงวงจรนั้นไม่สามารถระบายความร้อนได้ซึ่งเป็นผลเสียต่อเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง  เพราะฉะนั้น  ควรกำจัดฝุ่นผงภายในเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ  ถ้าเป็นเครื่องที่ใช้ในบ้านควรทำความสะอาด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  ถ้าเป็นเครื่องที่ใช้ภายในสำนักงาน  ควรทำความสะอาดทุก 6 เดือน          หรือแม้แต่พัดลมระบายความร้อน  ถ้ามีฝุ่นมากๆ ก็อาจทำให้ทำงานติดขัด  การระบายความร้อนทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร          วิธีการแก้ปัญหานี้  คือ ถ้าเกิดเป็นห้องที่มีการติดเครื่องปรับอากาศแล้ว  ต้องสำรวจว่ามีเครื่องกรองอากาศเพื่อลดผุ่งละอองในห้องแล้วหรือยังสำหรับห้องที่ไม่ใช้ห้องปรับอากาศ  อาจจะให้อุปกรณ์หรือผลิตภัณฆ์ทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์  เช่น แปรง  และชุดดูดฝุ่นเล็กๆ  ซึ่งจะช่วยยืดอายุการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้เลยทีเดีียว  แต่ที่สำคัญไม่ควรนำเครื่องดูุดฝุ่นสำหรับใช้ในบ้านเรือนหรือในรถยนต์มาดูดฝุ่นคอมพิวเตอร์เด็ดขาด  เพราะนอกจากฝุ่นแล้วชิ้นส่วนบางส่วนชิ้นบนเมนบอร์ดอาจดูดไปด้วย


         

          3. แม่เหล็ก  ไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง  แต่จะสร้างความเสียหายให้กับข้อมูลที่อยู่แผ่นดิสก์หรือแม้กระทั่งฮาร์ดิสก์ ได้  ซึ่งอาจถึงขั้นไม่ได้เลย  จอภาพก็เป็นแหล่งกำเนิดแรงแม่เหล็กด้วย  เช่นกัน  ดังนั้น  ถ้าผู้ใช้เผลอวางแผ่นดิสก์ไว้ใกล้จอภาพก็อาจทำให้ข้อมูลภาบในดิสก์เสียหาย  ลำโพงก็เป็นแหล่งกำเนิดแม่เหล็กได้เช่นกัน  รวมถึงมอเตอร์ที่ภายในเครื่องพิมพ์ก็เป็นแหล่งกำเนิดแม่เหล็กได้เช่นกัน          4. น้ำและของเหลว  เป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่าย  สาเหตุเพราะ  น้ำและของเหลวจะเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้หลายทางด้วย กันทางที่ดีควรหาพลาสติกมาคลุมเครื่องไว้เมื่อไม่ใช้งาน          5. กระบวนการเกิดสนิม  ตัวการที่ก่อให้เกิดสนิมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งภายนอกและแผงวงจรภายใน  ได้แก่                    - เกลือและเหงื่อ                    - น้ำ                    - อากาศ (ที่มีกรดซัลฟูริก กรดเกลือ  หรือกรดคาร์บอนิกส์)          ปัญหาใหญ่  ก็คือ  การเกิดสนิมที่อุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  เพราะอาจทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถใช้งานได้หรือทำงานผิดพลาด  เพราะฉะนั้น  จึงควรระมัดระวังสิ่งที่จะทำให้เกิดสนิม  สิ่งที่เป็นอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์          6. ระบบไฟฟ้า  สำหรับคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า UPS ซึ่งคววรจะเป็นแบบที่มีทั้งระบบไฟฟ้าสำรองและระบบควบคุมกระแสไฟฟ้า  ที่เรียกว่า  สเตบิไลเซอร์ (Stabilizer)          ถ้าเกิดไฟฟ้าดับภายในบ้าน  ก็ยังมีเวลาบันทึกไฟล์เก็บไฟล์ได้ทัน  หรือถ้ากรณีไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก ตัวสเตบิไลเซอร์ก็จะกักไฟฟ้าส่วนเกินหรือเสริมส่วนที่ขาดไม่ให้คอมพิวเตอร์ต้องเกิดความเสียหา


          


          7. ไฟฟ้าสถิตหรือฟ้าผ่า  ชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเมนบอร์ดแทบทุกชิ้นจะไวต่อไฟฟ้าวถิตมาก  ยิ่งเมื่อถึงเวลาอากาศหนาวๆ แล้ว (ต่างประเทศ) จะต้องมีดทปติดกับข้อมือแล้วต่อสายไฟฟ้าที่เป็นสายดิน  เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าสถิตจากตัวสร้างความเสียหายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ถ้าวันไหนเพียงรู้สึกว่าอากาศแห้งๆแล้วควรลดไฟฟ้าสถิตในตัวเองงก่อนเช่นสัมผัสกับโลหะชิ้นอื่นอย่างตู้เอกสารโลหะก่อนที่จะเริ่มเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อดูชิ้นส่วนภายใน        อีกสิ่งที่สร้างความเสียหายรุนแรงให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  คือ  ฟ้าผ่า  แม้ว่าฌอกาสจะเกิดได้ยาก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีสายอากาศ แบบโทรทัศน์  แต่เวลามีพายุฝนฟ้าคะนอง  ไฟฟ้าสถิตในอากาศขณะนั้นจะสูง  ความชื่นก็สูงด้วย  ทางที่ดีอย่าพยายามเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในช่วงที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง  เพราะแม้ว่าฟ้าจะไม่ได้ผ่าลงเครื่องโดยตรง  แต่ไฟฟ้าสถิตในอากาศก็สามารถสร้างความเสียหายให้คอมพิวเตอร์ในขณะที่กำลังทำงานอยู่ได้

2. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
สำหรับฮาร์ดแวร์คือ ส่วนที่เราสามารถจับต้องได้ทุกชิ้นครับไม่ว่าจะเป็น จอ, เคส, เมาส์, คีย์บอร์ด, หูฟัง, ซีพียู, เมนบอร์ด, อะไรที่สัมผัสได้เราก็เรียกว่าฮาร์ดแวร์ในส่วนของคอมพิวเตอร์ครับผม
ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ (Software computer))
ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ (Software computer))
 
ซอฟต์แวร์ (Software)
สำหรับซอฟต์แวร์คือ ส่วนที่เราใช้งานและควบคุมโดยการสังการจากฮาร์ดแวร์ครับ นั่นคือระบบปฏิบัติการ หรือที่เรารู้จักกันเช่น วินโดวส์(Windows) รวมถึงโปรแกรม แอพพลิเคชั่นต่างๆที่เราเห็นกันอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Office, Winamp, MSN เป็นต้นที่เราต้องรู้จักกับสองอย่างทั้ง ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์กันก่อนก็เพราะว่ามันมีความสัมพันธ์กันครับหากเราดูแลแค่อย่างใดอย่างนึงก็ไม่ดีครับเพราะสองอย่างนี้จะทำงานกันได้ต้องมาเป็นคู่ครับ ถ้าเรามีคอมพิวเตอร์แต่ไม่มีโปรแกรมก็เล่นไม่ได้ ว่ากันง่ายๆเลย ^^
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์
3.การ Defrag ฮาร์ดดิสก์ เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับการทำงานของระบบ

การทำ Defrag ฮาร์ดดิสก์หรือ Disk Defragmenter ก็คือการทำการจัดเรียงข้อมูลของไฟล์ต่าง ๆ ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ ให้มีความต่อเนื่องหรือเรียงเป็นระบบต่อ ๆ กันไป ประโยชน์ที่จะได้รับคือ ความเร็วในการอ่านข้อมูลของไฟล์นั้น จะมีการอ่านข้อมูล ได้เร็วขึ้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นถ้าหากมีไฟล์ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ ที่มีการเก็บข้อมูลแบบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อต้องการอ่าน ข้อมูลของไฟล์นั้น หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ก็จะต้องมีการเคลื่อนย้ายไปมาเพื่อทำการอ่านข้อมูลจบครบ หากเรามีการทำ Defrag ฮาร์ดดิสก์ แล้วจะทำให้การเก็บข้อมูลจะมีความต่อเนื่องกันมากขึ้น เมื่อต้องการอ่านข้อมูลนั้น หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์จะสามารถอ่านได้ โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายหัวอ่านบ่อยหรือมากเกินไป จะทำให้ใช้เวลาในการอ่านได้เร็วขึ้น
ที่จริงแล้ว ยังมีโปรแกรมของบริษัทอื่น ๆ อีกหลายตัวที่สามารถทำการจัดเรียงข้อมูลให้มีความต่อเนื่องกันได้ เช่น Speeddisk ของ Norton และอื่น ๆ อีกมาก แต่ในที่นี้จะขอแนะนำหลักการของการใช้โปรแกรม Disk Defragmenter ที่มีมาให้กับ Windows อยู่แล้ว ไม่ต้องไปค้นหาจากที่อื่นครับ
4.ข้อแนะนำก่อนใช้โปรแกรม Disk Defragmenterเพื่อให้การใช้งาน Disk Defragmenter มีประสิทธิภาพมากที่สุด ก่อนการเรียกใช้โปรแกรม Disk Defragmenter ควรจะเรียกโปรแกรม Walign ก่อนเพื่อการจัดเรียงลำดับของไฟล์ที่ใช้งานบ่อย ๆ ให้มาอยู่ในลำดับต้น ๆ ของฮาร์ดดิสก์ครับ โดยที่โปรแกรม Walign จะทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลการใช้งานไฟล์ ที่มีการเรียกใช้บ่อย ๆ ไว้ และนำมาจัดการเรียงลำดับ ให้อยู่ในส่วนแรก ๆ ของฮาร์ดดิสก์ ดังนั้นการที่เราเรียกโปรแกรม Walign ก่อนการทำ Disk Defragmenter จะเป็นการเพิ่มความเร็วของการอ่านข้อมูลได้อีกทางหนึ่ง โปรแกรม Walign จะอยู่ใน Folder C:\WINDOWS\SYSTEM\Walign.exe ครับ เปิดโดยการเข้าไปใน My Computer และเลือกไฟล์


กดดับเบิลคลิกที่ไฟล์ Walign เพื่อเรียกไฟล์ Walign.exe


โปรแกรมจะเริ่มต้นการ Tuning up Application เมื่อเสร็จแล้วจึงทำการ Defrag ต่อไป
นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการทำ Disk Defrag คือต้องปิดโปรแกรมต่าง ๆ ที่ทำงานอยู่ในขณะนั้นให้หมดก่อน เช่น Screen Saver, Winamp หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่จะต้องทำให้มีการอ่าน-เขียน ฮาร์ดดิสก์ บ่อย ๆ เพราะว่า เมื่อใดก็ตามที่ฮาร์ดดิสก์มีการอ่าน-เขียนข้อมูล จะทำให้โปรแกรม Disk Defragment เริ่มต้นการทำ Defrag ใหม่ทุกครั้ง ทำให้การทำ Defrag ไม่ยอมเสร็จง่าย ๆ หรืออาจจะใช้วิธีเข้า Windows แบบ Safe Mode โดยการกด F8 เมื่อเปิดเครื่องเพื่อเข้าหน้าเมนู และเลือกเข้า Safe Mode แทนก็ได้

การเรียกใช้โปรแกรม Disk Defragmenter
เรียกใช้โปรแกรม Disk Defragmenter โดยการกดเลือกที่ Start Menu เลือกที่ Programs และเลือก Accessories เลือกที่ System Tools และเลือก Disk Defragmenter ตามรูปตัวอย่าง


เลือกที่ Disk Defragmenter เพื่อเรียกใช้โปรแกรม Defrag


เลือกที่ Drive ที่ต้องการทำ Defrag และกด OK เพื่อเริ่มต้นการทำ Defrag หรืออาจจะเลือกที่ Settings... เพื่อทำการตั้งค่าต่าง ๆ ก่อนก็ได้


Rearrange program files... เลือกถ้าต้องการให้มีการจัดเรียงลำดับการเก็บข้อมูลของไฟล์
Check the drive... เลือกถ้าต้องการให้มีการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ก่อนการทำ Defrag
This time only เลือกถ้าต้องการให้การตั้งค่าข้างบน มีผลเฉพาะการเรียก Disk Defragmenter ในครั้งนี้เท่านั้น
Every time I degragment... เลือกถ้าต้องการเก็บค่าที่ตั้งไว้ให้ใช้ตลอดไปโดยไม่ต้องเข้ามาเลือกใหม่
เมื่อเลือกได้แล้วก็กด OK (แต่ขอแนะนำให้เลือกใช้ค่าที่ตั้งไว้อยู่แล้ว จะดีกว่าครับ)


เมื่อกด OK ก็จะเริ่มต้นการทำ Disk Defragment ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ จะค่อนข้างนานมากนะครับ ประมาณ 1-4 ชม.ทีเดียว ดังนั้นก็นาน ๆ ทำสักครั้งก็พอ ไม่ต้องทำบ่อยนัก ถ้าสงสารฮาร์ดดิสก์ที่ต้องมีการทำงานที่หนัก ๆ มากครับ โดยส่วนตัวผมแนะนำว่า ถ้าไม่มีการลงโปรแกรมต่าง ๆ บ่อยนักก็ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ แต่ถ้าหากรู้สึกว่าฮาร์ดดิสก์ทำงานช้าลงไป ก็ลองทำดูสักครั้งครับ

ข้อควรระวังในการทำ Defrag ฮาร์ดดิสก์
ขณะที่กำลังทำการ Defrag หากต้องการยกเลิกการทำงาน จะต้องกดที่ Stop เท่านั้น ห้ามปิดเครื่องหรือกดปุ่ม Reset เป็นอันขาด ไม่เช่นนั้นข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ของคุณอาจจะสูญหายได้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น